ติดต่อสอบถาม

การจัดการด้านการวิเคราะห์คุณค่า VA-VE

การจัดการด้านการวิเคราะห์คุณค่า VA-VE

วิทยากร จำนวนวัน วันที่สัมมนา ราคา/ท่าน หมายเหตุ

หลักสูตร การจัดการด้านการวิเคราะห์คุณค่า  VA-VE

Value Analysis and Value Engineering Management

หลักการและแหตุผล

ในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น องค์กรสวนใหญ่ได้พัฒนาระบบคุณภาพให้สมํ่าเสมอและมีความต่อเนื่องเป็นเรื่องปกติ แต่ความท้าทายอย่างยิ่งคือการพยายามเพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยให้ต้นทุนตํ่ากว่าคู่แข่ง การเลือกเทคนิคเพิ่มคุณค่าที่มีความหลายหลาย เพื่อนําไปสร้างสรรค์ขึ้นใหม่หรือปรับปรุงงานเดิมตามความเหมาะสมให้สามารถทํางานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นคนในองค์กรจําเป็นต้องมีความรู้หลักการบริหารการจัดการคุณค่า ( Value Management ; VM) อาทิเช่น คุณค่าการทํางาน (Value Functional) ด้วยการแจกแจงหน้าที่และระบุความรับผิดชอบที่เหมาะสมและสามารถลดความสูญเสยในขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ ทั้งยังช่วยลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรหรือต้นทุนให้ใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด และยังสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอีกด้วยดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบในด้านการวิเคราะห์คุณค่า (Value Analysis และ Value Engineering : VA-VE) เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึกของผลิตภัณฑ์หรือการบริการ จึงถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งและถือเป็นเคล็ดลับองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะนําไปสู่ความสำเร็จขององค์กร และจะนํามาซึ่งการลดต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. 1เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจหลักการปรับปรุงงานแบบ VA-VE
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายแนวขั้นตอนการทำ VA/VE ได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ VA/VE ในการทำงานของพนักงานในองค์กร

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

  1. ประวัติและความเป็นมาของ VA-VE กับการลดต้นทุนโดยกิจกรรม Cost Down และ Cost Reductionต่างกับ VA-VE อย่างไร
  2. การทำ Benchmarking กับการทำ Tear Down ต่างกัน อย่างไร และมีประโยชน์กับการทำ VA-VE อย่างไร
  3. แก่นแท้ของการทำ VA-VE ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ท้าทายและนำไปสู่ Maximize Value คือการใช้สมการ ความสัมพันธ์ของ (V = F/C )
  4. เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม VA-VE
  5. ขั้นตอนที่สำคัญ 7 ขั้นตอนในการดำเนินการกิจกรรม VA-VE
  6. ขั้นตอนที่เป็นแก่นแท้สำคัญ 2 ขั้นตอนในการทำกิจกรรม VE คือ ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์หน้าที่ “Function“ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ คำนาม + คำกริยา กับขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนงานการปรับปรุง “Kaizen” ของผลิตภัณฑ์
  7. คุณค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ VA-VE ในแต่ละช่วงเวลาของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
  8. ความเชื่อมโยงของโครงสร้างต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับแผนผังของระดับหน้าที่ “Function” ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย
  9. Work Shop1 การให้คำนิยามหน้าที่“Function“ของผลิตภัณฑ์และวิธีการเขียนแผนผังของ ระดับหน้าที่ “Function” ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย (ขั้นตอนที่ 3)
  10. Work Shop2 ฝึกการใช้ตารางความสัมพันธ์ของหน้าที่“Function“ กับต้นทุน พร้อมทั้งกำหนด หน้าที่“Function“ ของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่ 3)
  11. Work Shop3 ฝึกการจัดทำแผนการปรับปรุง Kaizen ของหน้าที่“Function“ของผลิตภัณฑ์ที่จะทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่ 4)

 

ผู้ควรได้รับการฝึกอบรม

 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ  หัวหน้างาน Line Leader พนักงานของบริษัทและผู้สนใจทั่วไป

 

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

Application Form /ใบสมัคร

ฟอร์มลงทะเบียน