ติดต่อสอบถาม

นักพัฒนาบุคลากรมืออาชีพสำหรับปูพื้นฐาน HRD มือใหม่

นักพัฒนาบุคลากรมืออาชีพสำหรับปูพื้นฐาน HRD มือใหม่

วิทยากร จำนวนวัน วันที่สัมมนา ราคา/ท่าน หมายเหตุ

หลักสูตรนักพัฒนาบุคลากรมืออาชีพสำหรับปูพื้นฐาน HRD มือใหม่

(Professional Human Resources Development Skills)

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักพัฒนาบุคลากรได้รับความรู้และความเข้าใจหลักการการบริหารการจัดฝึกอบรม สำหรับการเตรียมการก่อนฝึกอบรม ระหว่างอบรมและหลังการอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้นักพัฒนาบุคลากรสามรถวางแผนการดำเนินงาน การประสานงานที่ดีระหว่างวิทยากร และผู้เข้าอบรม พร้อมประยุกต์การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
  3. เพื่อให้นักพัฒนาบุคลากรฝึกทักษะ และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างฝึกกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งวิเคราะห์กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงทั้งวิทยากรและนักพัฒนาบุคลากร สำหรับการนำไปใช้กับการปฏิบัติงาน

ประเด็นการสัมมนา

Chapter 1 บทบาทหน้าที่นักฝึกอบรมและนักพัฒนาบุลคากร (Responsibility)

  • คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมที่ดี

CASE STUDY : ตัวอย่าง ศึกษาบทบาทหน้าที่สำคัญๆ ของตำแหน่งงานนักพัฒนาบุลคากร

1. ดำเนินการตามระเบียบการปฏิบัติงานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

2. จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้าน

   การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. ดำเนินการฝึกอบรม / การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้

4. สรุปข้อมูลพื้นฐานของการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร

5. ปฏิบัติงานด้านพัฒนาองค์กรโดยการจัดประชุมและหารือร่วมกับ Learning Organization

   Committee

6. ประสานงานกับส่วนงานต่างๆในการจัดทำและนำระบบคุณภาพในงานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรมาใช้งาน

7. ส่งเสริมการใช้เครื่องมือการพัฒนาตามระบบคุณภาพ

8. ดำเนินการยื่นขอรับรองหลักสูตร ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้

9. ดำเนินการแผนงานของการสร้างและพัฒนาค่านิยมองค์กร

10.  สร้างความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในทุกๆ หน่วยงาน

   อย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อเดือน

11.  ปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • ไขกุญแจ 10 ดอก การบริหารงานจัดฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  • เทคนิคการพูดในบทบาทพิธีกรของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

    WORKSHOP : ฝึกทักษะการพูดที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมมืออาชีพ อาทิ               -  

    การกล่าวทักทายและการสร้างบรรยากาศก่อนเปิดการโครงการฝึกอบรม การกล่าวเปิดการอบรม

    การกล่าวแนะนำวิทยากร การกล่าวขอบคุณวิทยากร และการกล่าวปิดการอบรม

  • เทคนิคการใช้เครื่องมือต่างๆ ประกอบการบรรยายและการจัดฝึกอบรม

Chapter 2 หลักการบริหารงานฝึกอบรมและพัฒนา (Theory & Principle)

  • การวิเคราะห์ความจำเป็นและความคุ้มค่าในการจัดฝึกอบรม
  • การจัดทำแผนปฏิบัติงานหรือกิจกรรมที่ดำเนินการในการฝึกอบรม
  • ขั้นตอนการดำเนินการและแนวทางปฏิบัติในการจัดดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่ก่อนการจัด

    ระหว่างการจัด และภายหลังการจัด

WORKSHOP : ฝึกทักษะการออกแบบหลักสูตรแบบมืออาชีพ ให้สอดคล้องกับระบบคุณภาพ,       

Competency, Core Values, Career Path, Training Roadmap, IDP เป็นต้น

Chapter 3 โมเดลการพัฒนาและเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal & Digital Platform

                 (Leaning Model & Platform)

  • รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนาขององค์กรแบบใหม่ด้วยสูตร 70 : 20 :10
  • กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework) จากมาตรฐานต่างๆ ขององค์กร
  • การเลือกกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตามเป้าหมายของแผน                

Chapter 4 การประเมินผลการฝึกอบรมติดตามผล และคิดค่าคุ้มทุนการฝึกอบรม

                 (Evaluation & Follow Up & ROI)

  • การเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการติดตามผลและประเมินผลการฝึกอบรม
  • เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม
  • แบบฟอร์ม สถิติขั้นพื้นฐาน และการรายงนผลที่ใช้ในการประเมินผลการฝึกอบรม
  • การคำนวณค่าใช้จ่าย และประเมินผลตอบแทนจากการฝึกอบรมในเชิงความคุ้มค่าใช้จ่าย (ROI)

WORKSHOP : กรณีศึกษาการเขียนรายงานการฝึกอบรม ตัวอย่างการประเมินผลการฝึกอบรม และตัวอย่างการคิดค่าคุ้มทุนงานฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้วยสูตรวิธีการคำนวนค่าคุ้มทุน

 

Chapter 5 เทคนิคพิเศษของการบริหารหลักสูตรกับวิทยากร และผู้เข้าอบรม

  1.  เทคนิคการบริหารวิทยากร
  • การออกแบบหลักสูตร
  • การกำหนดคุณสมบัติและการสรรหาวิทยากร
  • แนวทางการจัดการประเมินผลติดตามผบและการสื่อสารกับวิทยากร
    1.  เทคนิคการบริหารผู้เข้าอบรม
  • แนวทางการบริหารจัดการผู้เข้าอบรม
  • กิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม
  • การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัย

5.3 เทคนิคการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมให้โดนใจ

  • การใช้คำถามเตรียมตัวเอง สำหรับการเขียนหลักสูตร
  • การจัดเตรียมสไลด์ประเภทต่างๆ ที่มีในหลักสูตร
  • รูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลาย

Chapter 6 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตอบคำถาม นำเสนอการประยุกต์ใช้ในงานของตนเองให้เหมาะสม

วิธีการฝึกอบรม – สัมมนา

เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Dynamic & Workshop) เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน (Learning by Doing and Participating with Experiences) ซึ่งประกอบด้วย

{ การบรรยาย     { กิจกรรม และเกม    { การแสดงออก

{ กลุ่มสัมพันธ์     { การแสดงความคิด ถาม – ตอบ

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

Application Form /ใบสมัคร

ฟอร์มลงทะเบียน