หลักสูตร การจัดการด้านการวิเคราะห์คุณค่า VA-VE
Value Analysis and Value Engineering Management
หลักการและแหตุผล
ในปัจจุบันท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น องค์กรสวนใหญ่ได้พัฒนาระบบคุณภาพให้สมํ่าเสมอและมีความต่อเนื่องเป็นเรื่องปกติ แต่ความท้าทายอย่างยิ่งคือการพยายามเพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยให้ต้นทุนตํ่ากว่าคู่แข่ง การเลือกเทคนิคเพิ่มคุณค่าที่มีความหลายหลาย เพื่อนําไปสร้างสรรค์ขึ้นใหม่หรือปรับปรุงงานเดิมตามความเหมาะสมให้สามารถทํางานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้นคนในองค์กรจําเป็นต้องมีความรู้หลักการบริหารการจัดการคุณค่า ( Value Management ; VM) อาทิเช่น คุณค่าการทํางาน (Value Functional) ด้วยการแจกแจงหน้าที่และระบุความรับผิดชอบที่เหมาะสมและสามารถลดความสูญเสยในขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ ทั้งยังช่วยลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรหรือต้นทุนให้ใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด และยังสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอีกด้วยดังนั้นหลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบในด้านการวิเคราะห์คุณค่า (Value Analysis และ Value Engineering : VA-VE) เพื่อศึกษารายละเอียดเชิงลึกของผลิตภัณฑ์หรือการบริการ จึงถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งและถือเป็นเคล็ดลับองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะนําไปสู่ความสำเร็จขององค์กร และจะนํามาซึ่งการลดต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- 1เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจหลักการปรับปรุงงานแบบ VA-VE
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถอธิบายแนวขั้นตอนการทำ VA/VE ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ใช้ VA/VE ในการทำงานของพนักงานในองค์กร
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
- ประวัติและความเป็นมาของ VA-VE กับการลดต้นทุนโดยกิจกรรม Cost Down และ Cost Reductionต่างกับ VA-VE อย่างไร
- การทำ Benchmarking กับการทำ Tear Down ต่างกัน อย่างไร และมีประโยชน์กับการทำ VA-VE อย่างไร
- แก่นแท้ของการทำ VA-VE ที่ทำให้เกิดแนวคิดที่ท้าทายและนำไปสู่ Maximize Value คือการใช้สมการ ความสัมพันธ์ของ (V = F/C )
- เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม VA-VE
- ขั้นตอนที่สำคัญ 7 ขั้นตอนในการดำเนินการกิจกรรม VA-VE
- ขั้นตอนที่เป็นแก่นแท้สำคัญ 2 ขั้นตอนในการทำกิจกรรม VE คือ ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์หน้าที่ “Function“ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ คำนาม + คำกริยา กับขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนงานการปรับปรุง “Kaizen” ของผลิตภัณฑ์
- คุณค่าและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ VA-VE ในแต่ละช่วงเวลาของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
- ความเชื่อมโยงของโครงสร้างต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับแผนผังของระดับหน้าที่ “Function” ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย
- Work Shop1 การให้คำนิยามหน้าที่“Function“ของผลิตภัณฑ์และวิธีการเขียนแผนผังของ ระดับหน้าที่ “Function” ของชิ้นส่วนในระดับต้น กลาง และท้าย (ขั้นตอนที่ 3)
- Work Shop2 ฝึกการใช้ตารางความสัมพันธ์ของหน้าที่“Function“ กับต้นทุน พร้อมทั้งกำหนด หน้าที่“Function“ ของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่ 3)
- Work Shop3 ฝึกการจัดทำแผนการปรับปรุง Kaizen ของหน้าที่“Function“ของผลิตภัณฑ์ที่จะทำกิจกรรม Kaizen (ขั้นตอนที่ 4)
ผู้ควรได้รับการฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ทีมพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างาน Line Leader พนักงานของบริษัทและผู้สนใจทั่วไป
หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405
Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/
E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com