หลักสูตร การลดของเสียในการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการ
(Waste Reducing and Process Improvement)
หลักการและเหตุผล
องค์การจะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากการให้ความสำคัญกับ “คุณภาพ” ในสินค้าและบริการแล้ว เรายังต้องให้ความสนใจต่อ “การลดความสูญเสียต่าง ๆ” ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียจากวัตถุดิบ จากวิธีการผลิต จากเครื่องจักร หรือจากความผิดพลาดของบุคลากร ถ้าองค์กรมีแนวทางการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ (SDCA) ปัญหาต่าง ๆ จะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อย และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นควรมีแนวทางปรับปรุงคุณภาพ (PDCA) อย่างเป็นระบบ ความสูญเสียต่าง ๆ จะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
การลดความสูญเสียหรือของเสียในกระบวนการผลิตมีเครื่องมือและเทคนิคมากมาย แต่ที่นิยมใช้และเป็นที่คุ้นเคยในอุตสาหกรรมการผลิตได้แก่
• เครื่องมือปรับปรุงคุณภาพ (7 QC Tools) ด้วยขั้นตอนการลดของเสียด้วยคิวซีสตอรี่ (QC Story) มาตรฐาน JUSE
• ระบบการป้องก้นความผิดพลาด (Mistake Proofing / Poka Yoke) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
การลดของเสียในกระบวนการด้วย “เครื่องมือปรับปรุงคุณภาพ” เป็นการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ (Systematic) เกิดวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม เกิดการระดมสมองขึ้นในทีมงาน ฝึกฝนการใช้ความคิดแก้ปัญหาผ่านเครื่องมือแก้ปัญหา (Problem Solving Devices) ส่งผลให้เกิดแนวทางการลดของเสียในกระบวนการมีรูปแบบชัดเจน
การลดของเสียในกระบวนการอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากคือ “ระบบป้องกันความผิดพลาด” ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานว่า – “สาเหตุของความผิดพลาดจนเกิดของเสียขึ้นที่นับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมคุณภาพของกระบวนการคือ ความผิดพลาดของพนักงาน (Human Error)” ดังนั้นถ้าหัวหน้างานและพนักงานปฏิบัติการเข้าใจความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในมิติของ “ข้อบกพร่องและสาเหตุที่สัมพันธ์กัน” และเข้าใจ “กลไกป้องกันความผิดพลาด” ในกระบวนการ ซึ่งส่งผลให้การปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดของเสียได้รับการแก้ไขอย่างชัดเจน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกการลดของเสียและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจขั้นตอนการลดของเสียในกระบวนการอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพและขั้นตอนการลดของเสียด้วยคิวซีสตอรี่ (QC Story) มาตรฐาน JUSE
3. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจระบบป้องกันความผิดพลาดในกระบวนการ สามารถกำหนดกลไกป้องกันความผิดพลาด (Detection & Prevention) ได้ด้วยตนเอง
รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร
Module - 1 การสร้างจิตสำนึกการลดของเสียในกระบวนการ
• กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
• แนวคิดในการทำกำไรของธุรกิจสมัยใหม่
• “กรณีศึกษา” เพื่อสร้างจิตสำนึกการลดของเสีย
• จิตสำนึกความเป็นเจ้าของกับการลดของเสีย (Ownership Quotient)
Module - 2 พื้นฐานและแนวคิดการลดของเสียในกระบวนการ
• แนวคิดของการบริหารงานสมัยใหม่
Management = Standardization + Improvement Activity
• วงจรการควบคุมผลิตภัณฑ์ SDCA และวงจรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ PDCA
• ความหมายและประเภทของเสีย (Sporadic & Chronic Waste)
• ของเสียในมิติของความบกพร่อง (Defect)
• ของเสียในมิติของความไม่ตรงตามข้อกำหนด (NC-Nonconformity)
• ประเภทของเสียตามตัวแบบ SIPOC
• Activity I: วิเคราะห์ของเสียในกระบวนการผลิต
• มาตรการแก้ไขปัญหาของเสียในกระบวนการ
การทำให้ถูกต้อง (Correction)
การปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action : C/A)
การปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action : P/A)
• ขั้นตอนการลดของเสียด้วยคิวซีสตอรี่ (QC Story) มาตรฐาน JUSE
Module - 3 เครื่องมือและเทคนิคการลดของเสียในกระบวนการผลิต
• (1) เครื่องมือควบคุมคุณภาพ (7 QC Tools)
การวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis)
การกำหนดมาตรการแก้ปัญหา (Corrective Action Plan)
• การตรวจสอบ Root Cause & Corrective Action ด้วย MECE Technique
• Activity II: การวิเคราะห์รากสาเหตุและกำหนดมาตรการแก้ปัญหา
• (2) ระบบการป้องกันความผิดพลาด POKA YOKE
ข้อบกพร่อง 10 ประการ ในกระบวนการผลิต (แนวทางของฮิราโน่)
สาเหตุของข้อบกพร่อง 10 ประการ
• แนวคิดสำคัญของระบบการป้องกันความผิดพลาด POKA YOKE
การค้นหาข้อบกพร่องและวิเคราะห์สาเหตุของความเผอเรอ
กำหนดแนวทางการตรวจจับ (Detection) และการป้องกันความผิดพลาด
กลไกป้องกันความผิดพลาด (หยุด / บังคับ / เตือน)
• ตัวอย่างของเทคนิคป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ
หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405
Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/
E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com