หลักสูตร หลักเกณฑ์การเขียนสัญญาจ้าง
การเขียนสัญญาจ้างนายจ้างเขียนเอง..แพ้คดีเอง
จ่ายเงินเพิ่มเป็นล้าน
- นี่คือ “ จุดอ่อนของสัญญาจ้าง ” ที่ทำให้นายจ้างแพ้คดี เสียเงินเพิ่มเป็นล้านโดยที่ไม่ควรจะเสีย…
- ถ้าไม่อยากแพ้ ไม่อยากเสียเงิน และทำให้เป็น “ จุดแข็ง ” ใช้บริหารงานบุคคลได้อย่างยืดหยุ่น รอบคอบ รัดกุม
ต้องเข้าอบรมหลักสูตรนี้
หัวข้อการบรรยาย : จุดอ่อนและวิธีทำให้เป็นจุดแข็ง
- เขียนสวัสดิการ เช่น ค่าตำแหน่ง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ ไว้ในสัญญาจ้างกลายเป็นค่าจ้าง ตามมาตรา 5 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย ทำให้นายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มเป็นล้าน และเรื่องนี้นายจ้างแพ้คดี 99.99 %
- ไม่เขียนการจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายจ่ายเป็นเงินสด คนที่ออกไป หรือ อยู่ไม่ครบเรียกเงินคืนไม่ได้
- ไม่กำหนดการจ่ายค่าจ้างระหว่างทดลองงานทุก 7 วัน ไม่ใช้สิทธิบอกกล่วงหน้า 7 วัน กลายเป็นต้องบอกล่วงหน้า 30 วันเหมือนคนอื่น
- บอกไม่ผ่านทดลองงานให้ออกทันที หรือ บอกไม่ตรงวัน ผิดมาตรา 17 ทำให้ถูกฟ้องต้องจ่าย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 2 งวด
- ทดลองงาน หรือ ต่อทดลองงาน ถ้าครบ 120 วัน ต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่มตามมาตรา 118
- เขียนห้ามตั้งครรภ์ระหว่างทดลองงาน หรือ ระหว่างทำงาน ขัดกับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เลิกจ้างคนมีตั้งครรภ์ ผิดแรงตามมาตรา 43 นายจ้างแพ้คดีอาจจะถูกศาลสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือ ให้จ่ายค่าเสียหายจนกว่าจะคลอด
- เขียนว่าออกผิดระเบียบ หรือ ออกก่อนครบ 6 เดือน ไม่คืนเงินประกัน ผิดกฎหมายมาตรา 10 ที่บอกให้คืนภายใน 7 วัน
- ไม่เขียนเรื่องสิ่งประดิษฐ์คิดค้นเป็นของบริษัท ถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ภายหลัง
- ไม่เขียนห้าม LOAD ข้อมูลใด ๆ อันมีลิขสิทธิ์มาใช้งาน โดนพนักงานภายในร่วมหัวกับเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องเสียเงินเป็นล้านมาแล้ว พนักงานที่แจ้งรับรางวัลนำจับเป็นล้านสบายไป ระวังจะโดนไม่ใช่น้อย
- ไม่เขียนการฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยไว้ ถูกฟ้องข้อหาประมาททำให้ลูกจ้างบาดเจ็บ เสียอวัยวะ เรียกค่าเสียหายตาม ปพพ 420 ภายหลัง
- ไม่เขียนห้ามทำงานกับคู่แข่งไว้ ลูกจ้างไม่กลัว ถูกล้วงตับไปกินตลอดทาง
- ไม่เขียนห้ามพักร้อนไว้ในช่วงสุดท้ายที่ลาออก ทำให้พนักงานลาออกแล้วลาพักร้อนต่อ แล้วหงุดหงิด
- ไม่เขียนว่าไม่จ่ายค่าจ้างวันมาสาย วันขาดงานไว้ ทำให้ต้องจ่ายเต็ม
- ไม่เขียนการหักค่าจ้างชดใช้ความเสียหายไว้ หักไม่ได้
- เพิ่มตำแหน่ง เพิ่มค่าจ้าง ทำงานไม่ดีลดไม่ได้ เพราะไม่เขียนข้อตกลงไว้แต่แรก
- เขียนไม่รัดกุมให้สำเนาลูกจ้างไป ลูกจ้างนำไปฟ้องตายทีหลัง
- ลูกจ้างทำสัญญาหล่น คนอื่นเปิดอ่าน รู้เงินเดือนกัน คนเก่าป่วน วุ่นวาย มาขอเพิ่ม
- จ้างต่อเนื่องหลังเกษียณ เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยใหม่
- จ้างเป็นที่ปรึกษา แต่ให้ทำงานเหมือนพนักงานอื่น กลายเป็นลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เหมือนพนักงานอื่น
- จ้างเป็น Subcontracts ทำสัญญาไม่เป็น กลายเป็นลูกจ้าง
- จ้างบริการ แต่ทำสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นลูกจ้าง
- จ้าง รปภ. / คนขับรถส่วนตัว กลายเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย
- จ้างรายปีต่อเนื่องหลายปีนับอายุงานต่อเนื่อง เลิกจ้างเสียค่าชดเชยเพิ่ม
- จ้างมีกำหนดแน่นอน แต่ต่อเนื่องหลายครั้งกลายเป็นสัญญาไม่แน่นอน เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย
- เพิ่มตำแหน่ง เพิ่มค่าจ้าง ทำงานไม่ดี ไม่ทำสัญญายินยอมให้ลดลงภายหลัง ลดไม่ได้
- รับเงินแล้ว ไม่เขียนสละสิทธิฟ้องร้องภายหลัง ถูกลูกจ้างไปฟ้องอีก
- เขียนละเอียดยิบ 5 กระดาษ วนไป วนมา ตัวเล็ก เป็นภาษากฎหมาย ไม่อยากอ่าน ปฏิบัติตามยาก
- เขียนเป็นภาษาต่างประเทศ ใช้ในศาลไทยไม่ได้ เสียค่าแปล..แปลผิด แพ้คดี
แจกตัวอย่างสัญญาจ้าง ที่ปิดจุดอ่อนทั้งหมด ให้ลอกใช้ไหม?
หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405
Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/
E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com