ติดต่อสอบถาม

แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคนจัดซื้อ ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคนจัดซื้อ ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

หลักสูตร แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคนจัดซื้อ ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

 (Personal Data Protection Guideline for Purchasing)

หลักการและเหตุผล

แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพันธมิตร คู้ค้า ผู้ให้บริการ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง / ฝ่ายจัดซื้อ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. สามารถจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

4. นายจ้าง / ฝ่ายจัดซื้อ สามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สัญญา ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูล/ผู้ประมวลผมข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องกับกฎหมายได้

 

หัวข้อการอบรม

1. เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
  • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
  • มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
  • ความรับผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา – โทษทางปกครอง

3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15 ภารกิจที่ฝ่ายจัดซื้อ ต้องดำเนินการ

4. แนวทางการจัดทำเอกสารและแบบฟอร์ม PDPA ให้สอดคล้องกับกฎหมาย อาทิ

  • แนวปฏิบัติการจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities)
  • หนังสือให้ความยินยอม (Privacy Consent Form)
  • หนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice Form)
  • ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) 
  • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)
  • หนังสือตอบกลับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Rights Responding)
  • หนังสือแจ้งเหตุ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล (Personal Data Breach Notification)

5. แนวปฏิบัติ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง (Guideline for Procurement Department)

  • การจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities) ของฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง
  • การพิจารณาลักษณะของกิจกรรมประมวลผลข้อมูลว่าต้องปฏิบัติตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วน      บุคคลหรือไม่ ?
  • การพิจารณาสถานะความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและคู่ค้าหรือผู้ให้บริการว่าอยู่ในฐานะใด ?
  • แนวทางการคัดเลือกคู้ค่าหรือผู้ให้บริการหลัง PDPA บังคับใช้แล้ว
  • แนวการปฏิบัติการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการทำสัญญา เช่น ระหว่างการสรรหา / คัดเลือกคู่ค้า ระหว่างการยื่นประมูล เป็นต้น
  • แนวปฏิบัติการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างหรือใช้บริการใหม่ (New Procurement)
  • แนวปฏิบัติการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามนิติสัมพันธ์ของสัญญา
  • แนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายหลังสิ้นสุดสัญญา
  • การจัดการสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มีอยู่ก่อนผลบังคับใช้ (Existing Procurement)

6. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection Impact Assessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง

7.  สารพันปัญหาในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ PDPA พร้อมแนวทางแก้ไข กับงานจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ

  • การขอหนังสือรับรองบริษัทในการทำสัญญา ซึ่งมีชื่อของกรรมการในหนังสืออยู่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ควรทำอย่างไร ?
  • ข้อมูลอ่อนไหว ที่จำเป็นต้องการปฏิบัติตามสัญญา หากต้องขอความยินยอม สามารถกำหนดให้เป็นเงื่อนไขของการเข้าทำสัญญาได้หรือไม่ ?
  • ในกรณีทำสัญญาจ้าง หรือสัญญาอื่นๆ ที่จะต้องขอข้อมูลผู้ติดต่อบุคคลที่ 3 สามารถเก็บข้อมูลโดยอาศัยข้อยกเว้นตามกฎหมาย ได้หรือไม่ ?
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่เคยเก็บรวบรวมซึ่งยังไม่เคยแจ้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เมื่อกฎหมายมีผลบังคับ บริษัทต้องทำลายหรือไม่ มีแนวทางแก้ไขอย่างไร ?

 Workshop / กิจกรรม

  • การพิจารณาสถานะความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ
  • ร่างหนังสือให้ความยินยอม (Consent From) และ ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ที่เกี่ยวกับงานจัดซื้อจัดจ้าง
  • การร่างข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) เพื่อบริหารจัดการคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA   
  • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

นายจ้าง หน่วยงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน