ติดต่อสอบถาม

แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

หลักสูตร แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR ที่ครบถ้วนในทุกมิติ

(Personal Data Protection Guideline for HR)

หลักการและเหตุผล

แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ลูกจ้าง ตลอดจนผู้สมัครงาน

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง / HR เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. สามารถจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

4. นายจ้าง / HR สามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information) ให้สอดคล้องกับกฎหมายได้

หัวข้อการอบรม

1. เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
  • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
  • มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
  • ความรับผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา – โทษทางปกครอง

3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15 ภารกิจที่ HR ต้องดำเนินการ

4. แนวทางการจัดทำเอกสารและแบบฟอร์ม PDPA ให้สอดคล้องกับกฎหมาย อาทิ

  • แนวปฏิบัติการจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities)
  • หนังสือให้ความยินยอม (Privacy Consent Form)
  • หนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice Form)
  • ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) 
  • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)
  • หนังสือตอบกลับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Rights Responding)
  • หนังสือแจ้งเหตุ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล (Personal Data Breach Notification)

        5. แนวปฏิบัติ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของฝ่าย HR (PDPA Guideline for HR Department)

  • นายจ้างและฝ่าย HR มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง?
  • แนวปฏิบัติของนายจ้างในการ  เก็บ – ใช้- เปิดเผย ข้อมูลของพนักงาน
  • แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการสรรหาและรับสมัครงาน
  • แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างการจ้างงานหรือสถานะเป็นพนักงาน เช่น การประมวลผลข้อมูลประวัติพนักงาน การประเมินผลงาน การฝึกอบรมพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การสอบข้อเท็จจริงและการลงโทษวินัย ฯลฯ
  • แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายหลังการเลิกสัญญาจ้าง
  • แนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลอ่อนไหวของพนักงาน เช่น ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ
  • การปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน / สัญญาจ้าง / ใบสมัครงาน
  • แนวปฏิบัติในการโอนหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไปต่างประเทศ

         6. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection Impact

Assessment) และการประเมินความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง

        7. สารพันปัญหาในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ PDPA ของงาน HR พร้อมแนวทางแก้ไข อาทิ

  • การขอข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างและผู้สมัครงาน ต้องปฏิบัติอย่างไร?
  • กรณีไม่รับผู้สมัครงานเข้าทำงาน จะต้องทำอย่างไร ? กับข้อมูลที่ผู้สมัครงานได้แจ้งไว้
  • การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างให้หัวหน้างานเห็น ผิดกฎหมายหรือไม่ ? ต้องทำอย่างไร
  • การประเมินผลการทำงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ จะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถามมาได้หรือไม่?
  • HR โทรถามข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานเขียนไว้ได้หรือไม่ หรือต้องขอความยินยอมก่อน

       Workshop / กิจกรรม

  • ร่างหนังสือให้ความยินยอม (Consent From) และหนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice Form)
  • ร่างข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) เพื่อบริหารจัดการคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA  
  • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

นายจ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์พงศา บุญชัยวัฒนโชติ

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน