ติดต่อสอบถาม

หัวหน้างานยุคใหม่ (Modern Supervisor Skill)

หัวหน้างานยุคใหม่ (Modern Supervisor Skill)

หลักสูตร หัวหน้างานยุคใหม่ (Modern Supervisor Skill)

หลักการและเหตุผล

การบริหารงานในยุคปัจจุบันนั้น หัวหน้างานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งผ่านนโยบายของระดับบริหารสู่ระดับปฏิบัติการ เป็นผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเป็นไปขององค์กรและความเป็นไปของลูกน้อง เป็นผู้ที่สามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานระดับล่างได้เป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่สามารถทำลายขวัญกำลังลูกน้องได้ดีเช่นกัน  หัวหน้างานบางคนที่เพิ่งได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้างานไม่สามารถรับมือกับสถานภาพ บทบาทหน้าที่ใหม่ได้ทัน ทำให้เกิดปัญหาการบังคับบัญชา เกิดความไม่สบายใจขึ้นกับลูกน้อง เพื่อนร่วมงานเพราะเขาเหล่านั้น ใช้สัญชาตญาณในการแก้ปัญหามากกว่าการใช้องค์ความรู้ที่ได้รับการพัฒนาได้รับการพิสูจน์มาเป็นเวลานาน ทำให้หลายครั้งปัญหาที่เล็ก ๆ กลับลุกลามใหญ่โตจนสร้างความยาก ลำบากในการตามแก้ปัญหาให้อีกหลายเท่าตัว และในบางกรณีที่หัวหน้างานที่เป็นหัวหน้างานมานานแล้ว จนทำให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตนเองทำอยู่ทุกวันนี้เพียงพอและเหมาะสมแล้ว ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด

จากผลการวิจัยขององค์กรต่าง ๆ ด้านการบริหารพบว่า หัวหน้างานในยุคปัจจุบันต้องมีทักษะ 3 ด้าน คือ “เก่งคน เก่งคิด และเก่งงาน” มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นหัวหน้างานไม่ว่าจะใหม่หรือเป็นมานานแล้ว หัวหน้างานที่มีคุณภาพนั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความรับผิดชอบในหน้าที่แล้วการรู้จักที่จะบริหารคนเป็นอีกบทบาทหน้าที่ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากทำงานมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของพนักงานก็เท่ากับว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ ซึ่งหัวหน้างานต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเผชิญอยู่อย่างทันท่วงที และเป็นหัวหน้างานที่สามารถครองใจผู้ร่วมงานได้อย่างเต็มหัวใจ

     

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้หัวหน้างานได้รับความรู้ ความเข้าใจ หลักการบริหารคน บริหารความคิด และบริหารงาน
  2. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความรู้พื้นฐานของการเป็นหัวหน้างานและการบังคับบัญชาที่ถูกต้อง

3. เพื่อเสริมสร้างทักษะที่สำคัญในการเป็นหัวหน้างาน และเป็นที่ยอมรับของลูกน้อง

4. เพื่อให้หัวหน้างานทราบถึงวิธีการลดปัญหา ความขัดแย้ง ด้านการบริหารระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้อง

เนื้อหาการเรียนรู้

1. การเปลี่ยนกรอบความคิด (Paradigm Shift) มีผลอย่างไรต่อการบริหารงาน

  • การเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset)
  • การปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองในการบริหารงาน
  • Work Shop : การบริหารงานแบบ Proactive และแบบ Reactive

2. ธรรมชาติของมนุษย์และการยอมรับความแตกต่างของลูกน้อง    

  • คุณคือ หัวหน้างาน Style ไหน
  • มารู้จักลูกน้องแต่ละ Style กันดีกว่า
  • การปรับสไตล์การบริหารงานให้เหมาะกับลูกน้อง

3. บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่

  • บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้างาน
  • ความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement)
  • ความคาดหวังของพนักงานต่อหัวหน้างาน

4. ปัจจัยแห่งความสำคัญของหัวหน้างาน

  • จัดองค์ประกอบและการวางแผน
  • บริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล
  • ทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือ (Teamwork and Cooperation)
  • การสื่อสารข้อความในทีมงาน (Communication)

5. การบริหารทีมงานต่าง Style ได้อย่างไร?

  • คุณจะสื่อสารกับลูกน้องแต่ละ Style ได้อย่างไร?
  • คุณจะรับมือกับลูกน้องแต่ละสไตล์ได้อย่างไร?
  • การสร้างแรงจูงใจกับลูกน้องแต่ละสไตล์?

6. การบริหารและสร้างสมดุลของพนักงานที่แตกต่างกัน

  • สไตล์การบริหารลูกน้องแต่ละ Style
  • สไตล์การนำแบบ S1 S2 S3 S4 และลูกน้องแบบ D1 D2 D3 D4
  • Work Shop : การบริหารลูกน้องแต่ละ Style

ผู้นำการเรียนรู้

       อาจารย์ ดร. อิทธินันท์  สันทัศ   วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระ ด้านพัฒนาองค์กรเชิงกลยุทธ์

และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พร้อมวิทยากรผู้ช่วย 1 ท่าน

รูปแบบการเรียนรู้

  • การบรรยายแบบมีส่วนร่วม (Participative Technique)
  • กิจกรรมการสร้างทัศนคติเชิงบวก (Positive Attitude)
  • กิจกรรมเกมส์การบริหาร
  • แบบวิเคราะห์พฤติกรรมรายบุคคล
  • Work Shop
  • สื่อมัลติมีเดีย (Audio & Visual)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการเรียนรู้

       พนักงานระดับหัวหน้างาน หรือเทียบเท่า   

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

ดร. อิทธินันท์ สันทัศ

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน