หลักสูตร การวางแผนและควบคุมการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
หลักการและเหตุผล
ในการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ ประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณา คือ สินค้าคงคลัง (Inventory) บางครั้งเรียกว่าพัสดุคงคลัง หรือ สต๊อก หมายถึงสิ่งของที่จัดเก็บไว้ในคลังสินค้า (Warehouse) ซึ่งเรื่องการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ เป็นศาสตร์วิชาที่ว่าด้วยการบริหารชิ้นส่วนอะไหล่ที่อยู่ในคลัง สินค้าให้เหมาะสม มีต้นทุนที่เหมาะสม มีปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป
หากจะทำให้ผู้ที่ไม่เคยเรียน เข้าใจเรื่องการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ (Inventory Management for the spare parts) ให้เข้าใจได้ภายใน 1 วัน เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาด้านการคำนวณ ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา ทำความเข้าใจ แต่หลักสูตรนี้ พยายามเน้นสอนการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ ในแบบฉบับที่ผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่บรรยายเพียงทฤษฎี แต่เป็นการบรรยายทฤษฎีก่อนแล้วค่อยแปลงทฤษฎีที่ยาก สรุปรวบยอดให้เข้าใจง่ายขึ้น มีการยกตัวอย่าง การนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานจริงทั้งในระดับปฏิบัติการถึงระดับบริหาร
วัตถุประสงค์ / ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. สามารถเข้าใจแนวคิดการวางแผนและควบคุมการจัดซื้ออะไหล่เพื่อการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดพื้นฐานการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำหลักการหรือเครื่องมือไปใช้ในการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงเทคนิคและวิธีการประยุกต์ใช้ที่ถูกต้องเหมาะสมในการปรับปรุงการจัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่
หัวข้อการบรรยาย
1. พื้นฐานการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
1.1 กิจกรรม เพื่อปูพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และความเกี่ยวโยงของสินค้าคงคลังที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ
1.2 ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องบริหารสินค้าคงคลัง
1.3 ระบบการบริหารคลังสินค้า กับ บริหารสินค้าคงคลัง
1.4 ประเภทของสินค้าคงคลัง เช่น ทำความเข้าใจว่า อะไหล่ / Spare Part คือ สินค้าคงคลังที่ต้องควบคุมและบริหารจัดการ
1.5 การวิเคราะห์ต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง
2. การลำดับความสำคัญของสินค้าคงคงคลัง
2.1 การวิเคราะห์ความสำคัญด้วยแนวคิด ABC Analysis
2.2 วิเคราะห์ด้านความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
2.3 วิเคราะห์ด้านความถี่ในการใช้งาน (FSN Analysis)
2.4 วิเคราะห์ด้านราคา (HML Analysis)
2.5 วิเคราะห์ด้านระยะเวลาในการส่งมอบวัสดุ (SDE Analysis)
3. การวางแผนและการคำนวณสินค้าคงคลัง
3.1 เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting Techniques)
3.2 จุดสั่งซื้อ (Re-Oder Point : ROP) และการนำไปใช้
3.3 ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantity : EOQ) ที่ควรนำมาใช้ กับ ไม่ควรนำมาใช้
3.4 ค่าเผื่อเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock : SS) เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
3.5 กลยุทธิ์การลดสต๊อก แบบเข้าใจง่าย ไม่ต้องใช้ศาสตร์การคำนวณขั้นสูง
4. การพัฒนาและปรับปรุง
4.1 ดัชนีชี้วัด (KPIs) ในการบริหารสินค้าคงคลัง และการเลือกไปใช้อย่างเหมาะสม
4.2 เครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและให้ทุกคนมีส่วนร่วม
ระยะเวลาอบรม
1 วัน (6 ชั่วโมง) 09.00-16.00 น.
วิธีการฝึกอบรม
- การบรรยาย-สาธิตเนื้อหาและทฤษฎีรวมทั้งชมภาพและวีดีทัศน์ประกอบ
- ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการฝึกปฏิบัติ
- กิจกรรมกลุ่ม(Workshop)
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- ผู้บริหาร หัวหน้างาน ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ที่มีหน้าที่หรือผู้ได้รับพิจารณาให้รับผิดชอบงานที่ เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป
หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405
Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/
E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com