หลักสูตร“การทำงานตามมาตรฐานเพื่อลดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน”
(Standardized Work for Mistake-Proofing)
การทำงานตามมาตรฐาน (Standardized Work) เป็นการกำหนดหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างเดียวกัน จะมีกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนเหมือนกันทุกประการ เพื่อให้ทำนายประสิทธิภาพการทำงานได้และประมาณผลการทำงานเพื่อนำไปวิเคราะห์ปรับปรุงให้เหมาะแก่การนำมาใช้ในกระบวนการ
งานที่เป็นมาตรฐานจะแสดงถึงรายละเอียดของวิธีการทำงานที่เหมาะสมที่สุดภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขของการทำงานในปัจจุบัน รวมถึง วิธ๊การการทำงาน วิธีการควบคุม และวิธีการที่จำเป็นอื่น ๆในกระบวนการทำงาน และยังรวมถึงแบบฟอร์มมาตรฐานในกระบวนการทำงานด้วยงานที่เป็นมาตรฐานนั้นจึงเปรียบเสมือนเอกสารที่สำคัญมากขององค์กรที่จะนำไปปฏิบัติทั้งงานด้านการผลิตและบริการตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์งานมาตรฐานเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆกันและเหมือนกันทุกรอบ โดยเน้นการเคลื่อนไหวของคนเป็นสำคัญ และกำหนดวิธีการทำงาน เพื่อผลิตสินค้าที่ดี พนักงานปลอดภัย และต้นทุนต่ำลง ลดปัญหาและความผิดพลาด เป็นวิธีการเชื่อถือได้ โดยจะแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมและลำดับขั้นตอนที่จะทำให้เกิดสมรรถนะสูงสุดและการทำให้มีความสูญเปล่าน้อยที่สุด
ข้อผิดพลาดที่เกิดจากผู้ใช้งานซึ่งเกิดขึ้นที่โรงงานผลิตและนำไปสู่ข้อบกพร่อง โดยทั่วไปมักจะเรียกข้อผิดพลาดในการทำงานต่าง ๆ ที่เกิดจากผู้ใช้งานว่าข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานที่ไม่เป็นตามมาตรฐานหรือไม่มีมาตรฐานการทำงานที่ดีนั่นเอง ดังนั้นเราจึงควรสร้างมาตรฐานการทำงานเพื่อเป็นกลไกในการป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่อง (การหยุดทำงานเมื่อเกิดข้อผิดพลาด การจำกัดความผิดพลาด และการแจ้งเตือนเพื่อป้องกัน) และการตรวจจับข้อบกพร่อง (การหยุดทำงานเมื่อเกิดข้อบกพร่อง การจำกัดขั้นตอนการทำงาน และการแจ้งเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) นอกจากนี้การทำงานตามมาตรฐานยังสามารถระบุสาเหตุและกระบวนการเกิดข้อบกพร่อง เพื่อการปรับปรุงและป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องซ้ำอีก
เนื้อหาของหลักสูตร
09.00-10.30: - ความหมายของการทำงานตามมาตรฐาน (Standardized Work) วัตถุประสงค์
ประโยชน์ที่ได้รับ คุณค่าที่ได้รับ
- ประเภทของงานตามมาตรฐาน รูปแบบ และข้อมูลรายละเอียด
- ขั้นตอนการจัดทำเอกสารการทำงานตามมาตรฐาน
10.30-10.45: พัก 15 นาที
10.45-12.00: - การปรับปรุงการทำงานตามมาตรฐาน
- การสร้างตารางการทำงานตามมาตรฐาน
- วิธีการทำงานตามมาตรฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
12.00-13.00: พักเที่ยง
13.00-14.30: - รูปแบบของปัญหาและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
- การค้นหารากเหง้าของปัญหาและความผิดพลาด
- เครื่องมือการควบคุมคุณภาพ 7 ประการ
- ระบบป้องกันความผิดพลาด (Poka-Yoke)
- การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis:
FMEA)
14.30-14.45: พัก 15 นาที
14.45-16.00: - เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน
- การประยุกต์ใช้และเทคนิคการทำงานตามมาตรฐานเพื่อลดความผิดพลาด
- กรณีศึกษาการทำงานตามมาตรฐาน
ระยะเวลาอบรม 1 วัน วันละจำนวน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
รูปแบบการฝึกอบรม การบรรยาย การให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำและตอบคำถาม
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายผลิต ฝ่ายปฏิบัติงาน ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายบริการ วิศวกร
หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405
Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/
E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com