ติดต่อสอบถาม

กฎหมายแรงงานที่ HR ควรรู้

กฎหมายแรงงานที่ HR ควรรู้

หลักการและเหตุผล

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานระหว่างนายจ้าง กับ ลูกจ้าง โดยมีเจตนารมณ์ที่สำคัญคือ “ต้องการคุ้มครองลูกจ้างให้มีมาตรฐานในการจ้างงานที่เหมาะสม ที่กำหนดโดยรัฐ” เหตุผลก็มาจากแนวคิดที่ว่าอำนาจต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้างนั้นไม่เท่ากัน นายจ้างมีโอกาส มีกำลังในการสรรหาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจของตนเองได้ แต่ลูกจ้างนั้นไม่อาจมีเท่ากับนายจ้าง รัฐจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุ้มครองลูกจ้าง โดยตราเป็นกฎหมายสังคมหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้นประเด็นสำคัญก็คือ นายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถที่จะตกลงกันเพื่อยกเว้นไม่ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายได้ หากมีการตกลงกันแม้ว่าจะมีการลงนามทั้งสองฝ่าย ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ ถือเป็นโมฆะ

เพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันต่อสถานการณ์ กฎหมายคุ้มครองแรงงานก็มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาโดยตลอด มีวิวัฒนากรตั้งแต่ตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 จนปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลควรที่จะศึกษาหาความรู้ ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย

 

บทบัญญัติของกฎหมายสำหรับการอบรม

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จนถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566
  • พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เนื้อหาหลักสูตร

  • เจตนารมณ์ของการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย
  • วิวัฒนาการของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน
  • ใครคือนายจ้าง
  • เงิน ผลประโยชน์ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทุกเดือน อะไรเป็นค่าจ้าง อะไรไม่เป็นค่าจ้าง
  • หลักเกณฑ์การเรียกหลักประกันในการทำงาน และหลักประกันความเสียหายจากการทำงาน
  • การหักค่าจ้างมีหลักเกณฑ์อย่างไร
  • วันหยุด และ วันลา ต่างกันอย่างไร
  • การวิเคราะห์หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหยุดและการลาของแต่ละบริษัท
  • สภาพการจ้างคืออะไร สำคัญอย่างไร
  • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสำคัญอย่างไร
  • เทคนิคการกำหนดวินัยของบริษัท
  • เทคนิคการกำหนดมาตรการลงโทษทางวินัย
  • การพักงานระหว่างสอบสวน
  • การเกษียณอายุงาน
  • การจ้างพนักงานภายหลังเกษียณอายุงาน
  • การย้ายสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการอย่างไร
  • การลดจำนวนลูกจ้างเพราะเหตุนำเครื่องจักร เทคโนโลยีมาใช้ ต้องดำเนินการอย่างไร

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

อาจารย์พงศ์พรรณ์ พลเยี่ยม

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน