ติดต่อสอบถาม

การจัดทำเอกสารการส่งออกอย่างมืออาชีพ

การจัดทำเอกสารการส่งออกอย่างมืออาชีพ

หลักสูตร การจัดทำเอกสารการส่งออกอย่างมืออาชีพ


หลักการและเหตุผล
          ธุรกิจการส่งออกเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีธุรกิจส่งออกจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถทดแทนการขาดดุลทางการค้าและส่งผลให้ผู้ประกอบการในประเทศ มีความสนใจในการทำการค้าการส่งออกมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นการเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกและนำเข้า และประชาชนทั่วไปที่เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจนี้เพื่อได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการจัดทำเอกสารการค้าระหว่างประเทศอย่างมืออาชีพ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเพื่อการแข่งขัน และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้สูงขึ้น อีกทั้งเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศให้เข้าสู่ตลาดโลกได้เป็นอย่างดี​


วัตถุประสงค์ของการอบรม
​1.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับบริการด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
​2.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกฏหมาย และระเบียบข้อบังคับที่พึงทราบด้านการจัดทำเอกสารการส่งออกที่ถูกต้อง สอดคล้องกับเงื่อนไขของการรับชำระเงินภายใต้กฎเกณฑ์ของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce)
           3.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ ผู้ส่งออก และผู้นำเข้า กับการจัดทำเอกสารภายใต้ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ
​4.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีจัดทำเอกสารการขนส่ง เอกสารการประกันภัย และเอกสารอืน ๆ ในการค้าระหว่างประเทศ     รวมถึงการใช้คำย่อทั่ว ๆ ไปที่ยอมรับกัน    ตัวอย่างเช่น  Ltd. แทนคำว่า Limited,  Int’l แทนคำว่า International, Co. แทนคำว่า Company,  kgs หรือ kos. แทนคำว่า kilos,  Ind แทนคำว่า Industry,  mfr แทนคำว่า  manufacturer  หรือ mt แทนคำว่า metric tons  หรือในทางกลับกัน ที่ไม่ถือว่าเอกสารมีข้อผิดพลาด (Discrepancy)
​5.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และขั้นตอนการจัดทำเอกสาร สามารถหลีกเลี่ยงหรือทำให้หมดไปได้ เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบถึงรายละเอียดข้อปฏิบัติ แล้วมีการเจรจาตกลงกัน
​6.  เป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อประโยชน์ขององค์กร ในภายภาคหน้า


หัวข้อสัมมนา
• วงจรการจัดซื้อสินค้าต่างประเทศ
• การเลือกใช้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ (Incoterms ® 2020
- Any Mode : EXW, FCA, CPT, CIP, DAP, DPU, DDP
- Water Mode:  FAS, FOB, CFR, CIF.
• เอกสารทางการค้าระหว่างประเทศ (Shipping Documents)
• ขั้นตอนในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องทางการค้าระหว่างประเทศ และใครเป็นผู้ออกเอกสาร
 - เอกสารทางการเงิน (Financial Documents)        
 - เอกสารทางการขนส่ง (Transport Documents)
 - เอกสารการประกันภัย (Insurance Documents)
-  เอกสารทางการค้า (Commercial Documents)
• การจัดทำเอกสารให้ถูกต้อง ตามมาตรฐานของสภาหอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce-ICC) เพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกปฏิเสธการชำระเงิน
- กำหนดการส่งมอบสินค้าหากความหมายของ Shipment Term เช่น On or About, First Half, Second Half, Beginning, Middle และ End นับกันอย่างไร
- การแบ่งส่งสินค้า (Partial Shipment) และการส่งสินค้าเป็นงวด (Periodical shipment) ทำกันอย่างไรให้ถูกวิธี
- ความหมายของคำว่า “About” หรือ “Approximate” ในการค้าระหว่างประเทศ
- ความหมายของคำว่า “First Class, Well known, Qualified, Independent, Official”  ในการกำหนดผู้ออกเอกสาร
- การลงนามในเอกสารการค้าระหว่างประเทศมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด และหากต้องลงนามต้องกระทำในรูปแบบใด
- การตรวจสอบเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออกมิได้กระทำเอง มีหลักเกณฑ์อย่างใดตามกฎเกณฑ์ของสภาหอการค้านานาชาติเพื่อมิให้ถูกปฏิเสธการชำระเงิน
- หากมีเอกสารต้องยื่นเรียกเก็บเงินผ่านธนาคาร และเป็นเวลานอกทำการธนาคารต้องทำแบบใด
- ถ้าการเรียกเก็บเงินด้วย Letter of Credit หากวันหมดอายุของ L/C ตรงกับวันหยุดต้องทำอย่างไร
- เอกสารที่มีการปลอมแปลงเกิดขึ้นใครรับผิดชอบ
- เอกสารสูญหาย หรือล่าช้า ใครจะต้องรับผิดชอบการชำระเงินให้ผู้ส่งออก
• การใช้ Bank Guarantee ต่างกับ Standby L/C ใช้เป็นหลักประกันได้หรือไม่อย่างไร และใครจะได้รับประโยชน์ในการเอกสารดังกล่าวอย่างใดบ้าง
• หากมีการฟ้องร้องในคดีการค้าระหว่างประเทศผู้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบจะเป็นผู้นำส่งหรือผู้ส่งออก?


วิทยากรผู้บรรยาย : อ.มนตรี ยุวชาติ
             อดีตเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารกรุงเทพ ผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน และการให้คำปรึกษาปัญหา และแนวทางแก้ไขในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นผู้มีความชำนาญในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมามากกว่า 40 ปี อีกทั้งยังเป็นวิทยากรผู้บรรยายในหัวข้อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และข้อควรระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น  ในภาครัฐ และภาคเอกชนมายาวนานกว่า 30 ปี

รูปแบบการอบรม:  บรรยาย  ยกตัวอย่าง  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

ระยะเวลา : 1 วัน เวลา 09.00-16.00น. 

หมายเหตุ สำหรับ Inhouse Training เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์มนตรี ยุวชาติ

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน