ติดต่อสอบถาม

การชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับสำหรับข้อมูลผันแปร

การชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับสำหรับข้อมูลผันแปร

หลักสูตร การชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับสำหรับข้อมูลผันแปร (Hybrid)

หลักการและเหตุผล

         ในภาคทุกๆ อุตสาหกรรมการผลิต การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดด้านมิติ (ขนาด กว้าง ยาว สูง เป็นต้น) รวมถึงการตรวจสอบสภาพทั่วไป (Appearance) ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งในสายการผลิตสามารถผลิตสินค้าต่อวันได้เป็นจำนวนเยอะ ดังนั้นขั้นตอน / กระบวนการตรวจสอบสินค้าในแต่ละขั้นตอนจึงสำคัญมากในการตรวจจับ / ป้องกันงานเสีย (NG)ชิ้นส่วนที่มาจากผู้ผลิต (Suppliers) (Receiving Inspection) ไม่ให้หลุดลอดเข้าไปสู่กระบวนการผลิต และป้องกันชิ้นส่วนNG หลุดลอดไปยังลูกค้า (Outgoing)

         แต่ในทางกลับกันถ้าจะใช้พนักงานQCตรวจชิ้นงาน100% ทุกชิ้นเพื่อหาชิ้นงาน NG ก็คงเป็นเรื่องยากเพราะจะทำให้ต้นทุนด้านคุณภาพสูง และใช้เวลานานเกินไป ดังนั้น Acceptance Sampling Plan หรือ แผนการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับ เป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งที่หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพนำไปใช้ในการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับชิ้นส่วนที่ส่งมาจากผู้ส่งมอบ หรือสุ่มตัวอย่างสินค้าสำเร็จรูปก่อนที่จะส่งให้ลูกค้า เพื่อตรวจสอบว่าสินค้านั้นมีของเสียเป็นไปตาม AQL ที่ตกลงกันหรือไม่   เมื่อพูดถึงมาตรฐานการชักสิ่งตัวอย่างเพื่อการยอมรับ ทุกคนจะนึกถึง MIL–STD–105E แต่ในความเป็นจริงนั้น มาตรฐานการชักสิ่งตัวอย่างมีอีกมากมาย เช่น มาตรฐาน MIL-STD 414 / ANSI-ASQZ 1.9 เป็นต้น อีกทั้งแต่ละมาตรฐานก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันดังนั้น หากในการตรวจสอบเป็นการตรวจนับเชิงปริมาณ เช่น ความกว้างความหนา ความเข้มข้น ค่า pH จำเป็นต้องเลือกใช้มาตรฐานการชักสิ่งตัวอย่างสำหรับข้อมูลผันแปร (Variable data) จึงจะเหมาะสม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจวิธีการกำหนดและปรับระดับแผนการสุ่มชักตัวอย่างชิ้นงาน (Acceptable Quality Level (AQL)
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้วิธีการและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และลดต้นทุนด้านคุณภาพให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน
  3. เข้าใจความแตกต่างของมาตรฐานการชักสิ่งตัวอย่างแบบแอตทริบิวส์และผันแปร
  4. สามารถเข้าใจมาตรฐาน MIL-STD 414 / ANSI-ASQZ 1.9

หัวข้อเรียนรู้ :   

Øกิจกรรมละลายพฤติกรรม (ด้านจิตสำนึกด้านคุณภาพ) 

Øหลักการและแนวคิดการควบคุมคุณภาพ ประกันคุณภาพ 

Øการควบคุมคุณภาพชิ้นงานช่วง New Model 

Øการควบคุมคุณภาพชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต 

Øการควบคุมคุณภาพชิ้นงานและกระบวนการผลิต 

Øการรับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต 

Øหลักการและแนวคิดของ PDCA 

Øเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือ QC 7 Tools 

Øแนวคิดพื้นฐานการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับ

  • ความแตกต่างระหว่างแผนการชักสิ่งตัวอย่างแบบแอตทริบิวส์ และผันแปร
  • ความเข้าใจในมาตรฐาน MIL–STD414 / ANSI–ASQZ1.9
  • วิธีการใช้งานมาตรฐาน MIL–STD414 / ANSI–ASQZ1.9
  • การประเมินความเสี่ยงของแผนการชักสิ่งตัวอย่าง ด้วย LQ
  • การรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย AOQL

Øวิธีกำหนดการตรวจสอบและกฎการปรับเปลี่ยนระดับการตรวจสอบตามมาตรฐาน AQL (MIL–STD414 / ANSI–ASQZ1.9) 

-การตรวจสอบแบบปกติ (Normal Inspection) 

-การตรวจสอบแบบเข้มงวด (Tightened Inspection) 

-การตรวจสอบแบบผ่อนปรน (ยืดหยุ่น) (Reduced Inspection) 

Øกิจกรรมกลุ่มWork shop case study +นำเสนอผลการวิเคราะห์และอภิปราย 

ระยะเวลา: ระยะเวลา 1 วัน

ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. (ลงทะเบียนเวลา 08.30-09.00 น.)

กลุ่มเป้าหมาย :

-ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์,อุตสาหกรรมไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมอื่นๆ

-วิศวกรทุกส่วนงาน

-หัวหน้างานQC/QA, R&D, New Model

-ช่างเทคนิค

-บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หัวหน้างาน

หมายเหตุ สำหรับ Inhouse Training เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์บรรพต เทพฤทธิ์

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน