ติดต่อสอบถาม

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่

หลักสูตร การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่

ปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมต้องอาศัยเครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ซึ่งหาก เครื่องจักรเกิดการขัดข้องเดินไม่เต็มสมรรถนะ หรือหยุดเสียหายเหนือการคาดการณ์ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งมอบที่ล่าช้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ลดลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานอันเนื่องมาจากการควบคุมเครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัยและผลิตงานที่ไม่ได้คุณภาพหรือของเสียนั่นเอง

ในขั้นที่สูงขึ้นในการบำรุงรักษาคือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) คือการบำรุงรักษาตามคำแนะนำหรือคู่มือของผู้ผลิตเครื่องจักรเป็นหลัก โดยจะต้องมีการวางแผนและกำหนดระยะเวลาการหยุดเครื่องจักรในการเปลี่ยนชิ้นส่วนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากชิ้นส่วนนั้น ๆ ซึ่งระยะเวลาเหล่านี้มักจะเป็นค่าประมาณการโดยอ้างอิงจากค่าทางสถิติของอายุใช้งานเฉลี่ยของชิ้นส่วนเครื่องจักร (mean time between failure : MTBF) ที่มาจากผู้ผลิตชิ้นส่วน แต่ในบางกรณี ผู้ใช้งานหรือผู้ทำการซ่อมบำรุงอาจจำเป็นต้องกำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสมกับสภาพการทำงานที่แท้จริง เพราะอาจไม่สามารถระบุ หรือไม่มีข้อมูลจากผู้ผลิต หรือมีการใช้งานในสภาวะที่แตกต่างไปจากคู่มือเครื่องจักร แต่วิธีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันนี้ก็ยังไม่สามารถรับรองได้ว่าเครื่องจักรจะไม่มีการชำรุดเสียหายภายหลังการบำรุงรักษา นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเครื่องจักรยังต้องมีการจัดหาอะไหล่ใหม่มาทำการเปลี่ยนตามเวลาโดยเป็นไปได้ว่า ชิ้นส่วนเครื่องจักรเดิมที่ถูกถอดเปลี่ยนยังคงสามารถใช้งานได้อยู่

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการซ่อมบำรุง

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดในการลดความสูญเสียของเครื่องจักรในระบบการผลิ

3.ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษา ที่จะส่งผลกระทบต่อสถานประกอบการทั้งด้านคุณภาพ ต้นทุน และการส่งมอบ

4.เข้าใจหลักการและขั้นตอนการทำ Preventive Maintenance

5.เพื่อให้ความรู้และสามารถวางแผน Preventive Maintenance โดยการใช้ค่า MTBF (Mean Time Between Failure)

 

หัวข้อการอบรม

1.แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

2.ความสูญเสียหลัก 6ประการของเครื่องจักร

3.ความเป็นมาและแนวคิดของระบบการบำรุงรักษา

4.ความสำคัญของระบบการบำรุงรักษา

5.โครงสร้างและหน้าที่ของการบำรุงรักษา

6.รู้จักกับความหมายและการบำรุงรักษาแบบต่าง ๆ

o การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

o การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)

o การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)

o การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)

o การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

7.ขั้นตอนการทำ Preventive Maintenance

o เตรียมการและเก็บข้อมูล

o วิเคราะห์ข้อมูล

o กำหนดมาตรฐาน

o จัดทำแผน Preventive Maintenance

o ควบคุมและวัดผล

8.Visual Control เพื่อการตรวจสอบเครื่องจักร

9. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์

10. การบำรุงรักษาตามเวลา: TBM

11. การบำรุงรักษาตามสภาพ: CBM

12.การวัดประสิทธิภาพและวิเคราะห์การใช้งานเครื่องจักรร่วมกันด้วยค่า OEE, MTBF, MTTR

13.การแก้ไขปัญหาในการซ่อมบำรุงด้วย Cause-Effect Diagram , Tree Diagram , Relation Diagram

14.การระดมสมองเพื่อช่วยประเมินผลบำรุงรักษาตามแผน

– Work Shop การทำแผน Preventive Maintenance

– นำเสนอแผน Preventive Maintenance

 

กลุ่มเป้าหมาย

หัวหน้างาน ช่างเทคนิค พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป

รูปแบบการสัมมนา

1. การบรรยาย

2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

2.พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

3.สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานและขยายผลภายในองค์กรต่อไป

4.พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเครื่องจักร และควบคุมการใช้งานอะไหล่ร่วมกัน

หมายเหตุ สำหรับ Inhouse Training เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์บรรพต เทพฤทธิ์

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน