ติดต่อสอบถาม

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภาคปฏิบัติที่ผู้บริหาร หัวหน้างานต้องทราบ

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภาคปฏิบัติที่ผู้บริหาร หัวหน้างานต้องทราบ

หลักสูตรกฎหมายแรงงาน

“กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ภาคปฏิบัติที่ผู้บริหาร หัวหน้างานต้องทราบ”

เพราะกฎหมาย…คุ้มครองแรงงาน

เจ้าหน้าที่ก็…คุ้มครองแรงงาน

ศาลก็..ศาลแรงงาน

มีแต่เข้าสัมมนาหลักสูตรนี้เท่านั้น จึงจะคุ้มครองนายจ้างและผู้บริหารได้

หลักสูตรการสัมมนา

ถ้ามีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นกับท่าน ท่านจะทำอย่างไร ???

หมวดที่ 1 : กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  1. สัญญาจ้างงาน 1 ปี โดยมีช่วงทดลองงาน 4 เดือนถ้าไม่ผ่านจะเลิกจ้างเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าชดเชย ผิดกฎหมายตรงไหน ? ทำไมศาลจึงให้นายจ้างแพ้คดี ?
  2. บริษัทย้ายลูกจ้างไปทำงานหลายแห่ง ลูกจ้างไม่อยากไป จึงไปฟ้องศาลว่าถูกนายจ้างหาเรื่องเลิกจ้างได้หรือไม่ ?... หรือ จะไปฟ้องศาลปกครองให้คุ้มครองชั่วคราวได้หรือไม่  ?
  3. ลูกจ้างจัดทำรายงานการเงินล่าช้าทำให้นายจ้างถูกปรับเป็นประจำ แต่คนอื่นก็ทำเหมือนกัน นายจ้างว่าเป็นความผิดใครผิดมัน จะอ้างคนอื่นไม่ได้ จะเลิกจ้างคนเดียวว่าผิดร้ายแรงได้หรือไม่ ?….
  4. ลูกจ้างเป็นเจ้ามือหวยถูกตำรวจจับและปรับ 1,000 บาท  บริษัทจะเลิกจ้าง แต่พนักงานแย้งว่า ศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุดให้จำคุก จะเลิกจ้างไม่ได้ บริษัทต้องรอให้ศาลฎีกาตัดสินถึงที่สุดก่อนหรือไม่ ?
  5. ลูกจ้างขอลาออกสิ้นเดือน แต่นายจ้างอนุมัติให้ออกทันที โดยจ่ายค่าจ้างให้ถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน ลูกจ้างจะไปฟ้องว่าถูกเลิกจ้าง เรียกค่าชดเชย / เรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ ?...
  6. นายจ้างลงโทษตามข้อบังคับแล้ว ลูกจ้างว่าแรงเกินไป จะไปฟ้องศาลให้ลดหย่อนลงได้หรือไม่ ?...
  7. นายจ้างสั่งให้สลับโต๊ะทำงานกับพนักงานอื่น แต่ลูกจ้างไม่ยอม นายจ้างเตือนเป็นหนังสือ 3 ครั้ง แล้วก็ยังไม่เปลี่ยน ความผิดเล็กน้อยแค่ไม่ย้ายโต๊ะเช่นนี้ ถือว่าทำผิดร้ายแรงหรือยัง ?
  8. ลูกจ้างทำงานอยู่ชลบุรีแต่ไม่รู้ที่อยู่แน่นอน ศาลจึงหมายศาลไปถึงลูกจ้างที่อยู่ตามบัตรประชาชน คือ จังหวัดร้อยเอ็ดที่แจ้งไว้ในใบสมัครงาน เมื่อลูกจ้างไม่มาศาลตามนัด ศาลจะสั่งฝ่ายเดียวได้หรือไม่ ? 
  9. นายจ้างยุบหน่วยงานเลิกจ้างพนักงานหญิงลาคลอดไป 10 วัน ต้องรอให้ครบ 90 วัน และต้องจ่ายเงินค่าคลอด 45 วัน ให้ครบหรือไม่ ?
  10. ผู้ว่าจ้าง กับ บริษัทผู้รับเหมาช่วง ยังตกลงกันไม่ได้ว่าใครต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้างผู้รับเหมาช่วงกันแน่ เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างทั้ง 2 คน จ่ายเงินให้ลูกจ้างและเกิน 60 วันแล้วก็ยังไม่จ่าย จะไปฟ้องศาลว่ายังตกลงกันไม่ได้ ไม่จ่ายได้หรือไม่ ?
  11. ลูกจ้างเก็บทรัพย์สินของพนักงานอื่นได้แต่ไม่ใช่ทรัพย์สินของนายจ้างแล้วไม่คืน มีการซุกซ่อนเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน  ครส.ตัดสินว่าผิดไม่ร้ายแรงเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของนายจ้าง ใช่หรือไม่ ?
  12. การจ้าง / การส่งตัวคืน / การคัดเลือกผู้รับเหมาช่วง ที่ควรป้องกันปัญหาในอนาคตที่ดีควรทำอย่างไร ?

หมวดที่ 2 : กฎหมายแรงงานสัมพันธ์

  1. เดิมกำหนดว่าทดลองงาน 115 วัน ถ้าผ่านจะจ้างเป็นประจำได้ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าครองชีพเพิ่ม ต่อมานายจ้างมีเหตุผลว่า…

1. การทดลองงาน 115 วันน้อยเกินไป ไม่ควรจะได้รับสวัสดิการทั้งหมด

2. การทดลองงานกฎหมายไม่กำหนดไว้ จะทดลองงาน 1 ปี กฎหมายไม่ได้ห้าม

3. สวัสดิการที่ว่ากฎหมายไม่ไม่บังคับ นายจ้างให้เอง จึงมีสิทธิที่จะกำหนดเองอย่างไรก็ได้

นายจ้างจะเปลี่ยนการทดลองงานเป็น 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้สวัสดิการดังกล่าวได้หรือไม่ ?

  1. ข้อบังคับฉบับเก่าทำมานานแล้วไม่ทันสมัย จะจัดทำใหม่ให้ทันสมัยและแจกลูกจ้างแทนฉบับเก่าเลยได้หรือไม่ ?  
  2. เดิมกำหนดเกษียณ 60 ปีเท่ากัน แต่เห็นว่าลูกจ้างหญิงสูงอายุ ควรได้พักผ่อนอยู่กับลูกหลานหรือไปปฏิบัติธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เป็นคุณแก่ลูกจ้างหญิงยิ่งกว่า..จะเปลี่ยนให้ลูกจ้างหญิงเกษียณ 55 ปี ได้หรือไม่ ?
  3. เดิมถือปฏิบัติว่าโบนัสให้คิดจากอายุงานและสถิติการมาทำงานเป็นสำคัญ ทำให้คนที่ทำงานดี หรือ ไม่ดีได้เท่ากัน เป็นการไม่ยุติธรรม จึงคิดว่าจะนำผลการประเมินผลงานมาพิจาณาด้วย เพื่อให้คนที่ทำงานดี ได้มากกว่าคนทำงานไม่ดี…จะทำได้หรือไม่ ? ( ลูกจ้าง 754 คน )
  4. ในข้อบังคับกำหนดเวลาเข้ากะเป็น 3 กะไว้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติจริงให้ทำแค่ 2 กะและมีโอทีหัวท้าย 3 ชั่วโมงตลอดมาหลายปี  นายจ้างจะจัดให้เข้า 3 กะไม่มีโอทีได้หรือไม่ ? *** ( ครส.ตัดสินว่าไม่ได้ ต้องจัดให้ทำ 2 กะ + โอทีเหมือนเดิม เพราะทำมาเป็นประเพณีปฏิบัติเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งแล้ว )
  5. ผู้บริหาร ผู้จัดการ ที่ทำหน้าที่แทนนายจ้าง จะลงชื่อเรียกร้องร่วมกับพนักงานได้หรือไม่ ?
  6. บริษัทมีสหภาพแรงงานอยู่แล้ว ลูกจ้างจะลงชื่อกัน 15%  ยื่นข้อเรียกร้องเองต่างหาก ได้หรือไม่ ?
  7. ระหว่างนายจ้างปิดงาน – ลูกจ้างนัดหยุดงาน ต้องจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่.เพราะอะไร ?  
  8. ระหว่างการนัดหยุดงาน..พนักงานกลับเข้าทำงานมากกว่า 90% แล้ว อีก 10 % ที่เหลือ นายจ้างประกาศเรียกให้เข้าทำงาน แต่ไม่เข้ายังใช้สิทธินัดหยุดงานต่อ ยังไม่ถอนข้อเรียกร้อง นายจ้างจะเลิกจ้างได้หรือไม่ ?
  9. นายจ้างกับลูกจ้างตกลงข้อเรียกร้องกันได้บางข้อแล้ว นายจ้างยกเลิกการปิดงานประกาศให้ลูกจ้างเข้าทำงาน ลูกจ้างจะนัดหยุดงานต่อไปอีกได้หรือไม่ ?
  10. เมื่อนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องจนเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว นายจ้างจะปิดงานเป็นบางส่วน บางแผนก ได้หรือไม่ ?
  11. จะนำจำนวนวันที่นัดหยุดงาน / ปิดงาน มาตัดคะแนนเพื่อไม่ปรับค่าจ้าง ตามหลัก “ No work – No pay ”   ได้หรือไม่ ?  หรือ ตัดออกจากอายุงาน ได้หรือไม่ ?
  12. ข้อตกลงอยู่ระหว่างมีผลไปได้ 3 เดือน  สหภาพรู้แกวว่าจะถูกโยกย้าย..จะถูกเลิกจ้าง จึงยื่นข้อเรียกร้องใหม่อีกครั้งในเดือนที่ 4  เพื่อให้คุ้มครองตนเองได้หรือไม่ ?.......... นายจ้างต้องเจรจาใหม่อีกหรือไม่ ? 
  13. นายจ้างกับสหภาพตกลงกันว่าไม่นำค่าครองชีพมาคำนวณค่าชดเชย พนักงานประนอมข้อพิพาทบันทึกและรับจดทะเบียนแล้ว จะมีผลหรือไม่ ?
  14. ปีนี้สหภาพไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องใหม่ บอกด้วยวาจาว่าให้นำข้อตกลงเดิมมาบังคับใช้ในปีต่อไปตามกฎหมาย รวมทั้งต้องจ่ายโบนัส ปรับค่าจ้างเท่าเดิมด้วย ใช่หรือไม่ ?  ( ลูกจ้าง 106 คน )
  15. สหภาพทำพิธีไสยศาสตร์ การเผาพริก เผาเกลือ สาปแช่ง เพื่อนพนักงานที่ไม่ออกมาประท้วงกับตน ให้ตายโหง ตายห่า มีอันเป็นไปภายใน 3 วัน 7 วัน  มีเสียงและกลิ่นเข้าไปในที่ทำงานของนายจ้างด้วย ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ ?
  16. กรรมการสหภาพไม่ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับของสหภาพ แต่สมาชิกมีมากกว่า 2 ใน 3 แล้ว จึงใช้สิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเต็มคณะตามกฎหมาย…กรรมการลูกจ้างนั้นได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้วหรือไม่ ?
  17. บริษัทมีกรรมการลูกจ้างได้ 11 คน บริษัทฯ มี 2 สหภาพ แต่ละสหภาพใช้สิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่ง คือ  6 คนตามกฎหมายแล้ว เมื่อรวมกัน 2 คณะ = 12 คน เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าคณะใดมีผลตามกฎหมาย ? หรือ ถ้านายจ้างจะลงโทษ หรือ เลิกจ้าง จะต้องขออนุญาตศาลก่อนทั้งหมดหรือไม่ ?         
  18. ลูกจ้างอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพ จะมีสิทธิลงชื่อปลดกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งหรือไม่ ? 
  19. กรรมการลูกจ้างที่หมดสัญญาจ้างระหว่างการนัดหยุดงานหรือปิดงาน จะต้องขออนุญาตศาลเพื่อเลิกจ้างหรือไม่?
  20. กรรมการลูกจ้างทำผิด นายจ้างอยากจะสลับหน้าที่เพื่อป้องกันความเสียหาย จะต้องขออนุญาตศาลก่อนหรือไม่ ?
  21. ลูกจ้างทำความผิดร้ายแรง แต่สหภาพแรงงานแต่งตั้งลูกจ้างคนนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างในวันรุ่งขึ้น นายจ้างจะเลิกจ้างต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อนหรือไม่ ?
  22. กรรมการสหภาพที่หยุดงานไปฟ้องศาล หรือ ไปพบเจ้าหน้าที่แรงงานโดยไม่ลาไม่แจ้ง แต่มีหลักฐานมาแสดง นายจ้างจะลงโทษได้หรือไม่ ?
  23. ลูกจ้างทำผิด 100 คน นายจ้างจะเลิกจ้างเฉพาะผู้นำ 7 คน ได้หรือไม่ ?

หมวดที่ 3 : ประกันสังคม / กองทุนเงินทดแทน

  1. ลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้รับเงินทดแทนตาม พรบ กองทุนเงินทดแทนไปแล้ว ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างได้อีกหรือไม่ ?  
  2. ลูกจ้างต้องการบริการที่เหนือกว่าสิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลทำสัญญาสละสิทธิประกันสังคมและยอมออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด จะกลับมาเบิกส่วนที่เป็นประกันสังคม หรือ กลับมาใช้บริการประกังคมได้หรือไม่ ?
  3. แม่บ้านของบริษัทแวะซื้อผลไม้ ขนมมาเตรียมไว้ใช้รับรองแขกและบริหารผู้บริหาร ก่อนเวลาทำงานปกติและเกิดอุบัติเหตุรถชนบาดเจ็บ จะเป็นการเจ็บส่วนตัวหรือเจ็บในงาน ?
  4. พนักงานทำงานบนที่สูงแล้วตะโกนเล่นกันว่า “ เฮ้ยดูไอ้แมงมุม ! ” แล้วตกลงมาตายในโรงงาน เวลา 11.00 น. ถือว่าตายจากการทำงานหรือตายส่วนตัว ?

หมายเหตุ เนื้อหาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เข้าอบรม

********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณเล็ก โทร. 063-846-6405

Line : chosenthebest / Facebook: https://www.facebook.com/chosenseminar/

E-mail: info@chosenthebest.com / www.chosenthebest.com

อาจารย์สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา

Application Form /ใบสมัคร

In-House Training (ภายในองค์กร)

ข้อมูลบริษัท

ฟอร์มลงทะเบียน